ทีมวิจัย Operation BIM
รศ. ดร.ศิริวรรณ องค์ไชย (แย้มนิยม)
ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดิฉันศึกษาและทำวิจัยเฉพาะทางด้านชีวเคมีของโรคข้อ ตัวอย่างเช่น โรคข้อเสื่อมข้ออักเสบ กระดูกพรุน ฯลฯ นอกจากศึกษาทางชีวเคมีพื้นฐานองค์ความรู้ การเกิดโรคต่างๆ เกี่ยวกับโรคข้อแล้ว เรายังดูถึงการพัฒนาสูตรยา หรืออะไรก็ตามที่จะใช้ในการรักษาโรคข้อ
ตอนที่ได้พบกับอาจารย์พิเชษฐ์นั้น ถือเป็นเรื่องของเวลาและโอกาสอาจเป็น amazing time ด้วยก็ได้ ดิฉันจำได้ว่าราวปี พ.ศ. 2550 ตอนนั้นไปประชุมสัมมนาที่พัทยา แล้วได้พบอาจารย์อำไพ ปั้นทอง เรานั่งรถไปด้วยกันก็คุยกัน
ช่วงนั้นดิฉันได้พัฒนาเทคนิคการตรวจวิเคราะห์สารธรรมชาติหรือยาใช้รักษาโรคข้อ เราอยากดูว่ามันมีฤทธิ์ต้านโรคข้อเสื่อมไหม ดิฉัน set up วิธีนี้ขึ้นมา ซึ่ง practical มากในห้องแล็บของเรา ดิฉันมีความรู้สึกว่า เมืองไทยเป็นเหมือนสวรรค์ของพืชสมุนไพร เพราะสภาพอากาศเอื้ออำนวย เรามีสารธรรมชาติมากมาย อันที่จริงยาคือสารเคมี แต่สิ่งที่อยู่ในพืชมันคือสารเคมีที่พืชผลิต ทีนี้ก็เลยคิดว่า ในเมื่อบรรพบุรุษเราดูแลรักษาเราดูแลรักษาตัวเองมาได้จนป่านนี้ เขาต้องมีสูตรมีตำรับรักษาโรคข้อเสื่อม ดิฉันจึงเริ่มค้นตัวยา ค้นสารค้นพืชสมุนไพร ที่อ้างว่าเป็นตำรับรักษาโรคข้อเสื่อม แล้วเริ่มทำวิจัย
พอได้คุยกับอาจารย์อำไพระหว่างนั่งรถไปประชุมสัมมนาด้วยกันก่อนหน้านั้นทราบอยู่ว่าอาจารย์อำไพ ถือเป็น “เจ้าแม่” ที่มีความรู้เชี่ยวชาญเรื่องสารสมุนไพรอย่างมากคนหนึ่ง ดิฉันเลยถามอาจารย์อำไพว่ามีสารอะไรอยู่ในมือที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบเจ๋งๆ บ้าง และบอกอาจารย์อำไพไปว่า “อาจารย์ส่งมานะคะ หนู่อยากทดสอบมากเลย” อาจารย์อำไพแนะนะสารสกัดจากเปลือกมังคุดของอาจารย์พิเชษฐ์ เล่าให้ฟังถึงการทำงานของอาจารย์พิเชษฐ์ ตอนนั้นดิฉันได้ฟังแล้วดีใจเลยว่า มีคนทำเป็นบริษัทแล้ว เราไม่ได้สนใจอย่างอื่นหรอก สนใจอยู่แต่ว่าจะเอาสารมา explore หรือมาค้นหาเพิ่มเติมว่าฤทธิ์ทางยาต้านป้องกันโรคข้อเสื่อมมีไหม เพราะฉะนั้นถ้าเป็นบริษัทย่อมแสดงว่าเขามีสารสกัดอยู่แน่ๆ อาจารย์อำไพกรุณามาก โทรศัพท์หาอาจารย์พิเชษฐ์แจ้งว่ามีอาจารย์ท่านหนึ่ง ชื่ออาจารย์ศิริวรรณอยากคุยกับอาจารย์ อยากเอาสาร GM1 ไปทดสอบ ขออนุญาตให้เบอร์โทรศัพท์ด้วยนะ อาจารย์พิเชษฐ์อนุญาต ดิฉันได้เบอร์โทรศัพท์อาจารย์พิเชษฐ์มา แต่ยังไม่ได้ติดต่อไปหา
เมื่อดิฉันกลับมาที่ภาควิชา จึงปรึกษาอาจารย์ปรัชญาว่าได้ชื่ออาจารย์พิเชษฐ์มา อาจารย์พิเชษฐ์มีสารตัวหนึ่งที่เราน่าจะเอามาใช้ในห้องแล็บของเราได้ อาจารย์ปรัชญาฟังแล้วก็ว่า ผมรู้จักชื่อเสียงของอาจารย์พิเชษฐ์ อาจารย์ปรัชญาเลยติดต่อไป ทางอาจารย์พิเชษฐ์เองดูจะตื่นเต้นที่มีคนสนใจสารตัวนี้ ในฐานะที่อาจารย์พิเชษฐ์เป็นนักวิทยาศาสตร์อยู่ เลยคุยถูกคอกัน และเริ่มนัดให้ไปทานข้าวที่บ้านอาจารย์
เวลาอาจารย์พิเชษฐ์มาชวนไปทานข้าวนั้นเราจะไม่ปฏิเสธ เพราะบ้านอาจารย์พิเชษฐ์สวยมาก เหมือนเราได้ไปพักผ่อน แล้วส้มตำบ้านอาจารย์พิเชษฐ์อร่อยมาก ดิฉันกับอาจารย์อำไพนี่จะจอง คือถ้ารู้ว่าสองคนนี้จะไปแม่บ้านเขาจะตำส้มตำไว้ให้ อร่อยมาก
หลังจากนั้นมีการประชุมพูดคุยความเป็นไปได้ อาจารย์พิเชษฐ์ให้สารมาทดสอบ แล้วเริ่มขอทุน เริ่มทำงานด้วยกัน เราสนุกมากขึ้นๆ แล้วก็เริ่มมาถึงจุดที่สรุปว่า สาร GM1 ไม่ได้มีฤทธิ์ต้านอักเสบอย่างเดียวแล้ว
อาจารย์พิเชษฐ์ จีเนียสมาก บอกว่าไม่น่าจะเป็นเพียงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) หรือฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammation) ต้องมีอะไรบางอย่างเกี่ยวกับองค์รวม เพราะในแล็บเราพิสูจน์ได้ว่า มันยับยั้งสารไซโตไคน์สำคัญที่สุดตัวหนึ่ง ก็คือ Interleukin 1 นั่นทำให้อาจารย์พิเชษฐ์ซึ่งมองเก่งกว่าเราอีก ได้ตั้งข้อสังเกตว่า GM1 ต้องเกี่ยวกับการควบคุมภูมิคุ้มกัน เพราะมันไม่ได้ออกฤทธิ์ฆ่ากัน หนึ่งต่อหนึ่งระหว่างยากับเชื้อโรคหรือว่าหนึ่งต่อหนึ่งระหว่างฤทธิ์ต้านอักเสบหรือต้านอนุมูลอิสระ มันตื้นเกินไป อาจารย์พิเชษฐ์มองถึงองค์รวม แล้วมองได้ทะลุไกลกว่าเรา เราทึ่งตรงนี้นี่เป็นที่มาของการทำวิจัยเพื่อพิสูจน์เรื่อง GM1 กับภูมิคุ้มกันโดยตรง
จุดเด่นในการทำงานของอาจารย์พิเชษฐ์
ดิฉันร่วมงานกับอาจารย์พิเชษฐ์มาสามปีกว่า จุดเด่นในการทำงานของอาจารย์พิเชษฐ์นี่สุดยอด
เหมือนมีความสดทั้งความคิดและจินตนาการ แล้วยังมีต้นทุนของความเชี่ยวชาญในเรื่องศาสตร์ทางธุรกิจอย่างไม่น่าเชื่อว่า คนทำงานด้านวิทยาศาสตร์จะมีได้ พวกเรามักพูดกันเสมอว่า เราจะต้องเกิดอีกกี่ชาติถึงจะคิดได้อย่างอาจารย์พิเชษฐ์
สิ่งที่มักจะทำให้เราทึ่งเสมอก็คือ อาจารย์พิเชษฐ์มีความคิดสร้างสรรค์ในเรื่องการใช้ภาษามาก อย่างการตั้งชื่อตำรับหรือชื่อสิ่งที่เราค้นพบ ทั้งที่ตั้งจริงและตั้งกันเล่นๆ อาจารย์ใช้ภาษาได้อย่างที่เรียกว่า พอพูดชื่ออกมา ทุกคนจะบอก “เออ ใช่ๆ” มักเป็นอย่างนี้เสมอ
จากที่ทำงานร่วมกับอาจารย์พิเชษฐ์และทีมงาน ดิฉันคิดว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้ระหว่างกันอย่างสำคัญที่สุดนั้น เหมือนเปิดกะลาที่ครอบอยู่นะ แต่ถึงเปิดแล้วดิฉันยังไม่ออกจากจุดที่อยู่ คือเปิดแล้วเห็นเท่านั้นเอง ความที่เราเหมือนอยู่ในกะลามาตลอด เราจะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ คิดแบบนักวิจัยทำงานแบบนักวิจัย เราคิดเชิงธุรกิจไม่เป็น บางครั้งเราทำอะไรออกมา เราคิดได้แค่ว่าตัวนี้น่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ได้ พอบอกอาจารย์พิเชษฐ์ อาจารย์รับฟัง แล้วมองข้ามชอตไปเลย ว่าได้หรือไม่ได้อย่างไร แล้วชี้ให้เราเห็น อาจารย์พิเชษฐ์จะรับฟังความคิดเรา แต่จะเป็นที่มาให้เราเห็นเสมอว่าอาจารย์พิเชษฐ์จีเนียสมากในเชิงธุรกิจและวิทยาศาสตร์ นับเป็น combination ลงตัวที่สุดในคนคนหนึ่งจะมีได้
อาจารย์พิเชษฐ์ถือเป็นบุคคลที่ดิฉันรู้สึกว่า ลงตัวที่สุดทั้งในแง่ของวิทยาศาสตร์และทางธุรกิจ
แนวโน้มของการค้นพบในอนาคต
การค้นพบ Operation BIM หรือสารสกัดจากมังคุดที่ทำให้ Interleukin 1 ลดลง ทั้งยังช่วยเพิ่ม Interleukin 2 แนวคิดนี้ในอนาคตจะมีความสำคัญมาก สิ่งที่อาจารย์พิเชษฐ์ค้นพบหรือสูตรที่คิดค้นขึ้นมา เป็นสูตรที่อาจารย์ปรัชญาเพิ่มพูดเมื่อวันก่อนนี้เองว่า อาจารย์พิเชษฐ์มือแม่นเหมือนชั่งทอง หมายความว่าสูตรที่อาจารย์เขา combine สารสกัดจากพืชสมุนไพรทั้งห้าชนิดขึ้นมา สารในนั้นมันทำอย่างไรไม่ทราบ มันมีฤทธิ์ Synergist ช่วยลดระดับไซโตไคน์ที่เป็นต้นเหตุของการอักเสบ ในขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มไซโตไคน์ที่เป็นคุณกับร่างกายเราให้มากขึ้น เพื่อที่จะ heal ร่างกายได้พอดิบพอดี ถ้าหากว่าสูตรนี้มีอะไรบางอย่างมากไปน้อยไป ก็จะไปไม่ถึงจุดพอดีที่ทำให้เกิดความสมดุล จุดนี้เป็นเหมือนกุญแจดอกใหญ่ ที่คอบคุมเครื่องจักรทั้งหมด
อย่างคุณแม่ของดิฉันเป็นลำไส้อักเสบ เมื่อให้รับประทานผลิตภัณฑ์นี้ทุกวันไม่เคยขาด อาการเจ็บท้องก็หายสนิท แล้วที่น่าแปลกคือไม่เป็นหวัดเลย ปีนี้ทั้งปีแม่ยังไม่เป็นหวัด น่าแปลกมาก ดิฉันเองเป็นภูมิแพ้ มักเป็นหวัดง่าย กับอาจารย์อำไพจะคล้ายๆ กัน เวลาเราไปประชุมมักไปประชุมด้วยกันบ่อยๆ เราจะพกผลิตภัณฑ์นี้ ถ้าเริ่มรู้สึกไม่ค่อยสบายเรากินเลย สักแป๊บเดียวจะรู้สึกดีขึ้น ตอนแรกยังงงว่าเกิดอะไรขึ้น แต่พอเห็นกลไกตรงนี้เราอธิบายได้ ทำให้เราเข้าใจ
สิ่งนี้อาจแก้ปัญหาของโรคในอนาคตได้อีกมาก ในลักษณะขององค์รวม ถ้าเราไม่มีอคติ ในความรู้สึกว่านี้เป็นอาหารเสริม นี้เป็นสมุนไพร นี้ไม่ใช่ยาตามมาตรฐานของฝรั่ง ถ้าเราไม่คิดตรงนี้ เราจะสามารถทำประโยชน์ให้เกิดกับผู้คนได้อีกมาก
คุณสมบัติที่ดีของนักวิจัย
หลักของการเป็นนักวิจัยที่ดี ส่วนสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งคือ จิตวิญญาณต้องยังไม่ตาย หมายความว่า ต้องมีความรู้สึกกระตือรือร้นในการคิดและค้น ต้องคิดก่อน และนำไปสู่การค้นเพื่อตอบสนองความคิด ว่าเราคิดถูกหรือคิดผิด เป็นไปได้หรือไม่ได้ ตราบใดที่จิตวิญญาณตรงนี้ยังไม่ตาย การเป็นนักวิทยาศาสตร์ยังสามารถดำเนินต่อเนื่องไปได้เรื่อยๆ จะเกิดแรงผลักทำให้เราไม่หยุดนิ่ง ให้วิ่งไปขอทุนเพื่อเอามาพิสูจน์ เพื่อทำอะไรไปเรื่อยๆ แต่ถ้าจิตวิญญาณความกระตือรือร้นที่จะคิดหยุดลง อาจเพราะความเบื่อหรือสาเหตุอื่นๆ เช่นไปสนใจอย่างอื่นมากกว่า ถ้าตรงนี้หยุดลง มักทำให้เราไม่สามารถสร้างสรรค์โจทย์ใหม่ๆ ขึ้นมาได้อีก งานย่อมลดลงไปเรื่อยๆ
ส่วนการทำวิจัยเพื่อตอบสนองความคิดนั่นคือส่วนที่ตามมา การตีพิมพ์เสนอผลงานเป็นเหมือนรางวัล สำหรับนักวิทยาศาสตร์แล้ว เราจะสนุกมากเวลาคิดขึ้นมา ปิ๊งขึ้นมาว่า ตรงนี้น่าจะใช่ ตรงนี้น่าจะทำได้ ซึ่งทำให้เราไม่หยุด เป็นแรงผลักดันภายใน ดิฉันคิดว่านี่เป็นสิ่งสำคัญ แต่ถ้าพลังสร้างสรรค์นี้ตายเมื่อใด จะเกิดความรู้สึกว่าไม่มีแรงบันดาลใจให้คิดโจทย์ใหม่ๆ อีกแล้ว
ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน
ในแง่ความเป็นผู้ร่วมงาน อาจารย์พิเชษฐ์ดูแลน้อยๆ ดีมาก ต้องพูดว่าดีที่สุด อาจารย์พิเชษฐ์ใส่ใจกับความรู้สึกเล็กๆ น้อยๆ อาจารย์พิเชษฐ์น่ารักมากเลย อย่างที่บอกว่าถ้าอาจารย์พิเชษฐ์ชวนเราไปทายข้าวปุ๊บ ถ้าไม่ติดอะไรจริงๆ เราจะไป ทั้งที่ปกติทุกคนคล้ายๆ กันคือขี้เกียจออกไปทานข้าวนอกบ้าน แต่ถ้าบอกว่าอาจารย์พิเชษฐ์เชิญ เราจะกระตือรือร้นเลย เพราะเรารู้สึกเหมือนได้ไปพักผ่อน เหมือนได้คุยงาน เหมือนได้เติมความฝัน บางทีไม่มีงานอะไรหรอก แค่อยากคุยกัน แล้วอาจารย์พิเชษฐ์มีความรู้สึกกับความอบอุ่นตรงนี้ แม้ว่าอาจารย์จะไม่เอ่ยเป็นคำพูด แต่อาจารย์เป็นนักวิทยาศาสตร์จนได้เป็นศาสตราจารย์ อาจารย์ย่อมรู้รสชาติ บรรยากาศ ความคิด ความกดดันอะไรทั้งหลายในความเป็นนักวิทยาศาสตร์ ส่วนเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อาจารย์พิเชษฐ์ไม่เคยให้เราต้องกังวลใจ เรื่องเงินทองที่ต้องใช้เดินทางไปไหน จะดูแลเต็มที่ทุกอย่าง โดยอาจารย์มักพูดเสมอว่า ผมเข้าใจพวกคุณ นั่นเพราะอาจารย์คงผ่านภาวะเช่นนี้มามาก
ดิฉันและอาจารย์ทุกท่านในทีมวิจัย Operation BIM ต่างเป็นนักวิทยาศาสตร์ เรามีความสุขกับการทำงาน เราเป็นข้าราชการที่ไม่ได้ร่ำรวยจะบอกว่าเราไม่อยากรวยหรือไม่ใช่หรอก เราก็อยากรวย แต่เราไม่มีปัญญาคิดอย่างอาจารย์พิเชษฐ์ ไม่มีปัญญาแล้วไม่กล้าด้วย ไม่มีแรงบันดาลใจให้คิดอย่างนั้น ดิฉันกับอาจารย์อำไพยังเคยพูดกันอยู่บ่อยๆ ว่า ในกลุ่มพวกเราสามคนมีคนเดียวที่พอไปได้ คืออาจารย์ปรัชญา ส่วนเราสองคนนั้นสงสัยไม่มีทางออกจากบริเวณกะลานี้แน่ๆ
นักวิจัยหรือนักธุรกิจ?
ปัญหาที่ว่านักวิจัยไม่อาจมาเป็นนักธุรกิจได้ หรือไม่อาจออกมาจากกะลาได้นั้น อาจเป็นเพราะ ความคุ้นเคยกับระบบความคิด แม้ตอนหลังภาครัฐจะเริ่มเข้ามาสนับสนุนว่า ผลิตภัณฑ์ที่คุณคิดนี้ออกไปสู่ตลาดได้ แต่เรายังคิดในเชิงนักวิจัยอยู่ดี เพราะเมื่อเราพบอะไรที่สำคัญสักตัวหนึ่ง เราจะรีบเสนออาจารย์พิเชษฐ์ว่า อันนี้น่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ได้ แล้วเรามักเจอคำตอบว่า “อืม ผมไม่เถียงคุณนะ แต่ว่า...” เราฟังแล้วจะรู้ว่า เรายังอยู่ในกะลายังคิดแบบนักวิจัย เราไม่มีความรู้ความชำนาญเรื่องธุรกิจ ไม่มีต้นทุนจิตวิญญาณและหัวใจทางธุรกิจ
ดิฉันมองว่าอาจารย์พิเชษฐ์มีต้นทุนทางธุรกิจจาก “born to be” ประกอบกับนิสัยของอาจารย์ที่ “กัดไม่ปล่อย” ในทุกเรื่อง นี่คือลักษณะเด่นของอาจารย์พิเชษฐ์ หมายความว่าถ้าจับอะไรแล้ว เรื่องนั้นต้องลุย ลุยแล้วไม่กลัวล้ม
บางทีอาจารย์พิเชษฐ์เจอปัญหากดดัน อาจารย์จะชวนพวกเราไปทานข้าว แล้วเริ่มระบายให้ฟัง ดิฉันสะกิดกับอาจารย์อำไพว่า วันนี้อาจารย์พิเชษฐ์คงเครียด แสดงว่าปัญหาต้องหนักมาก สักพักอาจารย์พิเชษฐ์จะพูดจะเล่า ถึงปัญหาต่างๆ แต่บางทียังไม่ทันจบประโยค อาจารย์ก็บอกว่า ไม่เป็นไรมันเป็นปัญหาธรรมดาของการจัดการ พอสรุปอย่างนี้แล้วจบเลย อาจารย์พิเชษฐ์มองปัญหาเป็นเรื่องการท้าทาย ไม่ใช่มองปัญหาเป็นเรื่องอุปสรรคนี่คือลักษณะสำคัญของอาจารย์พิเชษฐ์ ซึ่งดิฉันแอบมองแล้วก็เห็นว่า “เออ born to be จริงๆ”
ดิฉันเห็นอาจารย์พิเชษฐ์เป็นทั้งนักวิจัยและนักธุรกิจ เพราะเวลาพูดถึงงานวิจัย อาจารย์พิเชษฐ์จะคุยกับเราอย่างนักวิจัย แต่พอถึงเรื่องธุรกิจอาจารย์พิเชษฐ์จะมีวิญญาณของนักธุรกิจเข้ามา ส่วนอันไหนมากหรือน้อยกว่ากันคงพูดยาก เพราะดิฉันเจออาจารย์พิเชษฐ์ทั้งสองรูปแบบ เวลาเราพบกันเราจะคุยเรื่องงานวิจัยล้วนๆ แล้วเถียงกัน อาจารย์พิเชษฐ์เชื่ออย่างหนึ่งดิฉันเชื่ออีกอย่างหนึ่ง สามคนนี้เชื่ออีกอย่างหนึ่ง และท้าอาจารย์พิเชษฐ์ว่าถ้าอย่างนั้นเราลองตัวนี้ แล้วลองมาพิสูจน์แบบนี้ๆ อาจารย์ปรัชญายังพูดว่าฝ่ายเรานะสามคนเลยนะ อาจารย์พิเชษฐ์ตอบว่าไม่เป็นไร ให้พิสูจน์ตรงนี้แล้วมาดูผล จากนั่นค่อยมาคุยกันใหม่ว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ถ้าพูดถึงผลิตภัณฑ์ การวางแผนการตลาด ปัญหาเศรษฐกิจ คนที่ยังพอมีทางตอบสนองได้เก่งๆ มีแต่อาจารย์ปรัชญา ส่วนดิฉันนั่งฟังเฉยๆ เลย รู้สึกแค่ว่า อาจารย์พิเชษฐ์มาเปิดกะลาให้เห็นโลกธุรกิจ ให้โดดออกจากจุดที่กะลามันครอบไว้ |