ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ งานวิจัย operation Bim
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletนักวิทยาศาสตร์ BIM100
bulletวัฒนชีวา MyLife100
bulletศูนย์วิจัย และพัฒนามังคุดไทย
bulletประโยชน์ของน้ำมังคุด
bulletความร่วมมือของนักวิจัย BIM100
bulletการเพิ่มคุณภาพชีวิตของ "ผู้ป่วยมะเร็ง"
bulletสัมภาษณ์ผู้ทาน BIM100
bulletบทสัมภาษณ์นักวิจัย รศ. ดร. ภญ. อำไพ ปั้นทอง
bulletพลังแห่งภูมิสมดุล
bulletภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Aids)
bulletผลของ Bim100 ต่อ มะเร็ง
bulletเบาหวาน
bulletข้อเข่าเสื่อม/ปวดเข่า
bulletกรดไหลย้อน
bulletโรคกระเพาะอาหาร
bulletวุ้นตาเสื่อม
bulletโรคสะเก็ดเงิน/เรื้อนกวาง
bulletSLE / แพ้ภูมิตัวเอง
bulletผื่นแพ้คันที่ผิวหนัง
bulletซีส เนื้องอก
bulletริดสีดวงทวาร
bulletไมเกรน / ปวดหัว
bulletภูมิแพ้
bulletหอบหืด / ไซนัส
bulletรูมาตอยด์
bulletเก๊าท์
bulletไฮเปอร์ไทรอยด์ (เป็นพิษ)
bulletไฮโปไทรอยด์
bulletน้ำในหูไม่เท่ากัน / บ้านหมุน
bulletปัญหาอื่น ๆ
dot
dot


ไฮเปอร์ไทรอยด์ (เป็นพิษ)

ไฮเปอร์ไทรอยด์ หรือ ไทรอยด์เป็นพิษ

โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือโรคคอพอกเป็นพิษ ต่อมไทรอยด์ ซึ่งอยู่ที่ลำคอด้านหน้า ต่ำกว่าลูกกระเดือกเล็กน้อย ทำหน้าที่สร้างและหลั่ง ฮอร์โมนไธรอยด์ออกสู่กระแสเลือด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ โดยเฉพาะหัวใจและประสาท

โรคนี้ไม่สามารถทาบสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่เป็นการกระจายของของต่อมไทรอยด์ไปทั่วร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ผมร่วง อารมณ์แปรปรวน และอาการบวมที่บริเวณคอ

ต่อมไทรอยด์จะอยู่หน้ากล่องเสียง ใต้ลูกกระเดือก มี 2 กลีบ คือ กลีบซ้าย และกลีบขวา เป็นต่อมที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาในกระแสเลือด ซึ่งไทรอยด์ฮอร์โมนมีหน้าที่กระตุ้นการเผาผลาญของสารอาหารในร่างกาย ทำให้เกิดพลังงาน และทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น กระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจ การหลั่งฮอร์โมน ถ้าหลั่งออกมาพอดี ร่างกายจะไม่มีภาวะผิดปกติเกิดขึ้น แต่ถ้าหลั่งมากเกินไปก็จะมีภาวะของอาการไทรอยด์เป็นพิษ ผมร่วงก็เป็นส่วนหนึ่งของอาการไทรอยด์เป็นพิษ

สำหรับสาเหตุโดยตรงของโรคนี้ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าในบางคน ร่างกายมีการสร้างภูมิคุ้มกันที่เรียกว่าแอนติบอดี ไปกระตุ้นเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ของตัวเอง ทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานเยอะกว่าปกติ และหลั่งฮอร์โมนมามากกว่าปกติ ในกรณีที่ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ เราสามารถคลำได้ว่ามีขนาดโตขึ้น เมื่อกดดูจะรู้สึกนิ่ม แต่ถ้าแข็ง หรือเป็นก้อนนูน ก็อาจจะเป็นเนื้องงอกของต่อมไทรอยด์

ปัจจัยบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับไทรอยด์เป็นพิษ ดังนี้ 

  1. เพศหญิง โรคนี้เกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 4-8 เท่า
  2. กรรมพันธุ์ บางครอบครัวเป็นกันทั้งมารดา และลูกสาว
  3. ความเครียดทางจิตใจ พบว่าทำให้เกิดอาการคอพอกเป็นพิษได้ ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ อาจสร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ต่อมจะมีขนาดโตขึ้น จนมองเห็นได้ชัดเจน ถ้าคลำดูจะมีลักษณะหยุ่นไม่แข็ง อาจฟังได้ยินเสียงฟู่ๆ เนื่องจากมีเลือดไปเลี้ยงต่อมมากกว่าปกติ วิธีการตรวจหาระดับฮอร์โมนในร่างกายทำได้ 2 วิธี  
    • เจาะเลือดตรวจหาระดับฮอร์โมนไทรอยด์ว่าสูงกว่าปกติหรือไม่ 
    • การตรวจโดยกัมมันตรังสีไอโอดีน เพศหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่สงสัยว่าตั้งครรภ์ควรบอกแพทย์ เพราะอาจมีผลเสียต่อเด็กในครรภ์ได้

ไทรอยด์เป็นพิษ อาการแสดงเป็นพิษ เกิดจากฮอร์โมนไทรอยด์ไปกระตุ้น
การทำงานของร่างกายมากขึ้นดังนี้ 

  1. หัวใจจะถูกกระตุ้นให้ทำงานมาก จึงมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นได้ ขณะที่นั่งสบายๆ ได้แก่ ใจสั่น หัวใจเต้นแรงและเร็ว จับชีพจรจะเต้นไม่สม่ำเสมอในบางครั้ง เหนื่อยง่าย
  2. เนื้อเยื่อของร่างกายเผาผลาญ สร้างพลังงานออกมามาก และเปลี่ยนเป็นความร้อน ออกจากร่างกายได้มากเช่นกัน จากอาหารที่รับประทานเข้าไป และที่เก็บสำรองไว้เป็นไขมันและกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้มีอาการเหล่านี้ ร้อนและเหงื่อออกมาก มือมักจะอุ่นและชื้น กินจุ แต่ผอมลง
  3. ระบบประสาทถูกฮอร์โมนไทรอยด์กระตุ้นมากขึ้น ทำให้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ถูกกระตุ้นให้ทำงานผิดปกติได้เช่นเดียวกัน มือสั่น ตกใจง่าย ลำไส้ถูกกระตุ้น ทำให้ถ่ายอุจจาระบ่อยวันละหลายๆ ครั้ง กล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนและขามักอ่อนแรง บางครั้งเมื่อนั่งยองๆ ก็ลุกไม่ไหว ประจำเดือนอาจมาน้อย หรือห่างออกไป นัยน์ตาอาจโตโปนถลน หรือหนังตาบนหดรั้งขึ้นไป ทำให้เห็นตาขาวข้างบนชัด ดูคล้ายคนดุ

อาการที่พึงระวัง

  1. อาการผมร่วง บางคนร่วงเป็นหย่อม ๆ บางคนร่วงทั่ว ๆ ไป
  2. คอบวม เนื่องจากการโตผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ทำให้สามารถคลำได้ที่คอ
  3. ตาโปน เนื่องจากการกระตุ้นเนื้อเยื่อด้านหลังลูกตา
  4. หัวใจเต้นเร็ว ทำให้เหนื่อยง่าย ใจสั่น
  5. เหงื่อออกเยอะ
  6. กล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้เกิดอาการเพลีย
  7. น้ำหนักลดลง ผอมลง แต่กินจุ
  8. ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ

วิธีการรักษา

  1. การรับประทานยา เพื่อลดการสร้างฮอร์โมนที่ต่อมไทรอยด์
  2. การกลืนน้ำแร่ไอโอดีนชนิดที่เปล่งกัมมันตภาพรังสี รังสีจะเข้าไปทำลายเนื้อต่อมไทรอยด์ และลดฮอร์โมนที่ต่อมไทรอยด์ทีละน้อย โดยไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย
  3. การผ่าตัด มักจะทำในคนที่มีคอโตมาก ๆ หรือมีอาการมาก โดยผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ออก ซึ่งจะเหลือบางส่วนไว้ เพื่อสร้างฮอร์โมนให้พอดี จากนั้นจะตรวจเลือด ถ้าพบว่าฮอร์โมนต่ำเกินไป แพทย์จะให้ยาฮอร์โมนไทรอยด์เสริม

รู้ไว้ ห่างไกลโรค

  1. ถ้ามีฮอร์โมนต่อมไทรอยด์น้อยเกินไป จะทำให้เกิดอาการอ้วนขึ้น เบื่ออาหาร เพลีย หลงลืม ง่วงบ่อย ขี้หนาว การเผาผลาญอาการเช้า อาจมีสาเหตุจากภูมิคุ้มกันไปทำลายต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่เกิดหลังผ่าตัด การฉายแสง
  2. ขณะที่เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ การออกกำลังกายควรทำแต่พอดี หากออกกำลังกายจนเหนื่อยมากเกินไป อาจเสี่ยงต่อการที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจวาย และอาจทำให้เสียชีวิตได้ 

 

BIM100 / ไฮเปอร์ไทรอยด์ (เป็นพิษ) BIM100 / ไฮเปอร์ไทรอยด์ (เป็นพิษ)
BIM100 / ไฮเปอร์ไทรอยด์ (เป็นพิษ) BIM100 / ไฮเปอร์ไทรอยด์ (เป็นพิษ)
 
BIM100 / ไฮเปอร์ไทรอยด์ (เป็นพิษ)  



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




รีวิวจากผู้ใช้ Bim100

ข้อมูลของปัญหาสุขภาพ และประสบการณ์จากผู้ใช้ Bim100
โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Aids)
การเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง
เบาหวาน
ข้อเข่าเสื่อม/ปวดเข่า
กรดไหลย้อน
โรคกระเพาะอาหาร
โรคสะเก็ดเงิน/เรื้อนกวาง
SLE / แพ้ภูมิตัวเอง
ผื่นแพ้คันที่ผิวหนัง
ซีสต์ เนื้องอก
ริดสีดวงทวาร
ไมเกรน / ปวดหัว
ภูมิแพ้
หอบหืด / ไซนัส
รูมาตอยด์
เก๊าท์
ไฮโปไทรอยด์
น้ำในหูไม่เท่ากัน / บ้านหมุน
บทสัมภาษณ์นักวิจัย รศ. ดร. ภญ. อำไพ ปั้นทอง
ปัญหาอื่น ๆ



Copyright © 2014 All Rights Reserved.



ติดต่อสอบถาม/ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โทร. 088-919-1559 Line id : @bim555 (ใส่ @ ข้างหน้าด้วยค่ะ)